เงินบำนาญของรัฐ

เงินบำนาญเป็นผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับหลังจากเกษียณอายุการทำงาน บริษัทเอกชนก็จะกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้าง หรืออาจจะเสนอเป็นเงินก้อนเดียวเมื่อเกษียณอายุการทำงานก็ได้ รัฐก็มีการกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้างของของรัฐ เงินบำนาญมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเป็นอย่างมากในการดำรงชีพหลังเกษียณอายุการทำงาน ในปัจจุบันประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น และขนาดของครอบครัวเล็กลงอย่างมาก ผู้สูงอายุจึงต้องพี่งพาตนเองมากขึ้น เงินบำนาญจึงเป็นที่พึ่งหลักของผู้สูงอายุหลังวัยทำงาน รัฐบาลของแต่ละประเทศมีระบบเงินบำนาญให้พนักงานหลังเกษียณอายุการทำงานแตกต่างกันไป

มีการลำดับระบบเงินบำนาญของรัฐใน 43 ประเทศด้วยข้อมูลล่าสุดในปี 2521 (พ.ศ. 2564) โดย Visual Capitalist พิจารณาจาก 3 มิติ ได้แก่

  • Adequacy (ความเพียงพอ) รายได้พื้นฐานจากระบบเงินบำนาญ
  • Sustainability (ความยั่งยืน) ระยะเวลาที่ดำเนินการของระบบเงินบำนาญ เงินอุดหนุนจากรัฐ และหนี้สาธารณะ
  • Integrity (ความสมบูรณ์) ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องระบบเงินเกษียณ

ที่มา: Visual Capitalist

ประเทศที่มีคะแนนสูง 3 ลำดับแรก คือ Iceland Netherlands และ Denmark ส่วน 3 ลำดับที่มีคะแนนต่ำ คือ Philippines Argentina และ Thailand ประเทศไทยได้คะแนนรวม (Over all) 40.6 และได้คะแนนในหมวด Adequacy เท่ากับ 35.2 ซึ่งต่ำสุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับการพิจารณา ดังที่แสดงในรูป

เกี่ยวกับ R3A Center

R3A Center is where the beauty of living matters.
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร