จาก website www.cpf.gov.sg ซึ่งเป็น website ของรัฐบาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน Central Provident Fund (CPF) ซึ่งเป็นรากฐานของระบบประกันสังคม (Social security system) ไว้อย่างน่าสนใจ และอาจจะเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับกองทุนที่เรามีอยู่เพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในอนาคต
สำหรับพนักงานที่มีเงินเดือน จะมีการหักเงินเก็บส่วนหนึ่งจากเงินเดือน และนายจ้างต้องจ่ายสมทบส่วนหนึ่ง อัตราการหักจากเงินเดือนและเงินสมทบแตกต่างกันขึ้นกับอายุของพนักงานตามตารางข้างลางนี้
เงินที่หักจากรายได้ของพนักงานและเงินสมทบจากนายจ้างจะถูกแบ่งไปเก็บไว้เป็น 4 ส่วนในบัญชีของพนักงาน ได้แก่
- Ordinary account (OA)
- Special account (SA)
- Medisave account (MA)
- Retirement account (RA)
ภาพจาก : Central Provident Fund Board (www.cpf.gov.sg)
สัดส่วนการแบ่งไปยังบัญชีต่างๆจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ จากประกาศล่าสุดของรัฐบาลซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 ตามตารางข้างล่าง
การสะสมเงินใน CPF แต่ละเดือนมีกำหนดจำนวนสูงสุดด้วยอัตราเงินเดือน (Wage ceiling) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Ordinary wage ceiling และ Additional wage ceiling ในปี ค.ศ. 2024 เงินเดือนสูงสุดที่ใช้คำนวณเงินหักเก็บใน Ordinary account หรือ Ordinary wage ceiling เป็น S$6,800 และเมื่อรวมรายได้ที่ใช้คำนวน Additional wage ceiling ต้องไม่เกิน S$102,000 ต่อปี
เมื่อมีความต้องการจะเบิกเงินออมในบัญชี CPF ก็สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
- เบิกจากบัญชี Ordinary account สามารถนำไปใช้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์
- เบิกจากบัญชี Medisave account เพื่อนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ทั้งของตัวเองและคนในครอบครัว นอกจากนี้ยังสามารถนำไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับโปรแกรมที่ได้รับความห็นชอบจากรัฐบาล
- เบิกจากบัญชี Retirement account เพื่อใช้ในการดำรงชีพเมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งสามารถเบิกเป็นรายเดือนหรือเป็นงวดเดียวก็ได้
ในกรณีที่ยังมีเงินสะสมในบัญชี CPF หลังจากเสียชีวิต เงินสะสมที่เหลืออยู่จะถูกโอนให้กับทายาทหรือผู้ที่ถูกระบุไว้ ถ้าไม่มีทายาทหรือระบุผู้รับผลประโยชน์ เงินสะสมที่เหลืออยู่จะถูกโอนไปยังกองทุนเพื่อสาธารณะต่อไป