Stockholm Syndrome (สต็อกโฮล์ม ซินโดรม) เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง และอาจจะลงเอยด้วยการแสดงอาการปกป้องคนร้ายหรือยอมเป็นพวกเดียวกันด้วยซ้ำ อาการที่ว่านี้นักจิตวิทยาตั้งขึ้นตามคดีปล้นธนาคารที่เกิดขึ้นในกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนในปี ค.ศ. 1973 คนร้ายยึดธนาคารเป็นเวลา 6 วัน ก่อนที่จะถูกตำรวจจับ หลังจากที่ตัวประกันถูกปล่อยตัว เจ้าหน้าที่และลูกค้าธนาคารซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันเริ่มเห็นใจโจร เมื่อตำรวจบุกเข้าไปตัวประกันพยายามปกป้องโจรด้วยซ้ำ (เหตุการณ์ปล้นครั้งนั้นกลายเป็นพล็อตหนังเรื่อง “ปล้นกลางแดด” หรือ Dog Days Afternoon ที่มีอัลปา ชีโน่เป็นดารานำ) บางคนปฏิเสธที่จะให้การกับศาล บางคนถึงกับเรี่ยรายเงินเพื่อนำไปช่วยคนร้ายในระหว่างการดำเนินคดี จึงเป็นที่มาของคำว่า “Stockholm syndrome” ภาพยนตร์ที่นำ Stochkolm syndrome ไปเป็นพล็อตเรื่อง เช่น Highway (India) จำเลยรัก (ไทย)
อาการของ Stockholm syndrome หลักๆคือ
-มีความรู้สึกที่ดีกับคนร้าย
-มีความรู้สึกต่อต้านต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่า เป็นพฤติกรรมที่ทางธรรม เรียกว่า เห็นผิดเป็นชอบ เกิดจากความใจอ่อน สงสารสัตว์โลกผู้ชะตาตกต่ำ ประกอบกับ ได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ก่อการร้ายเป็นระยะเวลานาน กินข้าวหม้อเดียวกัน – นอนเตียงเดียวกัน มิได้ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือ พูดจาประชด ถากถาง แม้แต่น้อย จึงเกิดความสงสาร เห็นใจ หันมาเข้าข้างเค้าซะเลย
กลุ่มอาการ Stockholm syndrome เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%
คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ.1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างการปล้นธนาคาร ที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย
สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ
- ตัวประกันมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้จับตัว
- ไม่มีความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ระหว่างตัวประกันและผู้จับตัว
- ตัวประกันไม่ให้ความช่วยเหลือต่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล (เว้นแต่ผู้จับตัวจะถูกตำรวจบังคับ)
- ตัวประกันเห็นถึงมนุษยธรรมในผู้จับตัว เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกคุกคาม เพียงอยู่ในฐานะเป็นผู้บุกรุก
มีความพยายามจะอธิบายสาเหตุของ Stockholm syndrome เช่น
-เป็นสำนึกผูกพันที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งถูกกดขี่โดยชนชั้นที่มีอำนาจ บ้างถูกจับ ทำร้าย ถึงแกชีวิตก็มี
-ผู้ถูกควบคุมตัวมักมีความเชื่อว่าจะถูกทำร้าย ไม่ทางหนึ่งทางใด เมื่อผู้ถูกควบคุมตัวไม่ถูกทำร้าย และบางทีได้รับการปฏิบัติที่ดีจากคนร้าย ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี เห็นอกเห็นใจต่อคนร้าย
หากเริ่มมีความสงสัยว่าตนเองมีอาการ Stockholm syndrome และต้องการหลุดพ้นจากความรู้สึกดังกล่าว สามารถทำได้โดยวิธีต่อไปนี้
-มีสติ ทำความเข้าใจกับวงจรที่ทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว
-สร้างกำแพงความรู้สึก หรือรักษาระยะห่างจากคนร้าย
-ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
อ่านเพิ่มเติม: 1.Bay Area CBT Center, https://bayareacbtcenter.com/overcoming-stockholm-syndrome-with-san-francisco-therapists/
2.Taylor & Francis, an informa business, https://taylorandfrancis.com/knowledge/Medicine_and_healthcare/Psychiatry/Stockholm_Syndrome/
3.Viphavadt Hospital, https://www.vibhavadi.com/th/search?q=stockholm+syndrome
4.Study.com, https://study.com/learn/lesson/stockholm-syndrome-symptoms-treatment-example.html
Yoou could certainly see your skiills withi the artticle youu write.
Thhe arena hopes ffor more paswionate wriiters like you wwho aren’t afraid tto mention hhow they believe.
Aways go after your heart.