Posted on

ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia

คนที่เคยชื่นชม สนุกกับกิจกรรมบางอย่าง ทั้งในที่ทำงานหรือที่บ้าน ในบ้านหรือนอกบ้าน แต่อยู่ๆก็รู้สึกว่ากิจกรรมเหล่านั้นไม่น่าสนใจอีกต่อไป ภาวะอย่างนี้เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับอาการซึมเคร้า อาการของภาวะสิ้นยินดี มีทั้งอาการทางสังคมและอาการทางร่างกาย อาการทางสังคมมักจะเห็นได้จากความเบื่อหน่ายที่จะร่วมสังสรรค์พูดคุยกับคนรอบข้าง ส่วนอาการทางร่างกายอาจจะไม่ใช่การการไม่รับรู้ รส กลิ่น และเสียง แต่เป็นการไม่รู้สึกชื่นชอบกับ รส กลิ่น และเสียง ที่เคยชอบ เพลงที่ชอบ อาหารที่เคยโปรดอย่างมาก กลับไม่ทำให้เกิดความรู้สึกดีๆอย่างแต่ก่อน ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) อาจมีอาการคล้ายกับภาวะไม่แยแส (Apathy) แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางคนอาจมีทั้งสองภาวะในเวลาเดียวกัน

                ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) เป็นอาการของโรคหรือความผิดปรกติทางร่างกายและทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) โรคจิต (Schizophrenia) โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder) โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง (Parkinson’s disease) การบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic brain injury) เป็นต้น

ที่มา: Cleveland Clinic (https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/25155-anhedonia)

นอกจากการสังเกตอาการแล้ว แพทย์อาจจะตรวจผลเลือดเพื่อดูปริมาณวิตามินดี (Vitamin D) และสมดุลย์ฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ประกอบด้วย การรักษาและบรรเทาภาวะดังกล่าวอาจทำได้โดย

  • การบำบัดความคิดและพฤติกรม (Cognitive behavioral therapy)
  • รักษาด้วยยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotic medications)
  • รักษาด้วยยาต้านอาการภาวะซึมเศร้า (Antidepressant medications และ Selective serotonin reuptake inhibitors)
  • รักษาด้วยยาเคตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (Ketamine)
  • การบำบัดด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy)
  • การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial magnetic stimulation)

ผู้ที่มีภาวะสิ้นยินดีสามารถบำบัดหรือบรรเทาได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นการเดินหรือโยคะก็ได้ ในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะขับสารโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขเพื่อกระตุ้นให้ต้องการกระทำหรือมีพฤติกรรมที่ชื่นชอบ ด้วยความมั่นใจ กระตือรือร้น และท้าทายให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ

ที่มา:       1.รู้จักกับสารแห่งความสุข: โดปามีน/www.okmd.or.th

                2.Ahdonia/Cleveland Clinic (https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/25155-anhedonia)