ทฤษฎีความโง่เขลา

Dietrich Bonhoeffer เคยกล่าวไว้ว่า คนโง่นั้นอันตรายยิ่งกว่าคนชั่วเสียอีก นั่นก็เพราะว่า เรานั้นสามารถประท้วงหรือต่อสู้กับคนชั่วได้ เเต่สำหรับคนโง่นั้นเราไม่สามารถทำอะไรได้เลย เราไม่สามารถใช้เหตุผลกับคนที่ไม่รับฟังอะไรเลยได้ เราได้นำงานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขามาทำเป็นวีดีโอนี้เพื่อที่จะเป็นกระบอกเสียงเพื่อเตือนสังคมให้ตระหนักว่ามันสามารถเกิดเรื่องอะไรขึ้นได้บ้าง ถ้าคนบางประเภทมีอำนาจมากเกินไป Bonhoeffer เขียนจดหมายในระหว่างที่อยู่ในสถานกักกัน อธิบายเหตุผลทำไมความโง่เขลาจึงเป็นอันตรายมากกว่าความชั่วร้ายอื่นๆ ว่า “เราสามารถป้องกันการกระทำที่ชั่วร้ายได้โดยการบังคับไม่ให้มีการกระทำนั้นๆ แต่กับคนโง่เขลาเราไม่สามารถแจกแจงเหตุผลได้ เหมือนพูดให้คนหูหนวกฟัง”

เมื่อคนโง่เขลาไม่สามารถโต้เถียงด้วยเหตุผล มักจะหลีกเลี่ยงที่จะคำนึงถึงผลที่จะตามมา หรืออ้างว่าเป็นการบังเอิญไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำของเขา ซึ่งเป็นการอธิบายตามความพอใจของตนเอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของความโง่เขลา

-ความโง่เขลาไม่ใช่ความบกพร่องทางความคิดหาเหตุผล คนเก่งที่มีความสามารถในการหาเหตุผลเพื่ออธิบายเรื่องราวต่างๆ ก็อาจเป็นคนโง่เขลาได้

-ความโง่เขลาไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่เป็นอิทธิพลของสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และผลจากความยินยอมให้สิ่งเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลในตัวของเขา

Dietrich Bonhoeffer เป็นชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ระหว่าง  4 February 1906 – 9 April 1945 เป็นคนหนึ่งในกลุ่มต่อต้านนาซี ถูก Gestapo จับในเดือน April 1943 ในข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบสังหาร Adolf Hitler ในที่สุดถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 9 April 1945 ในค่ายกักกัน Flossenbürg concentration camp เพียงสองสัปดาห์ก่อนที่ค่ายนี้จะได้รับการปลดปล่อยโดยทหารอเมริกัน

CARLO M. CIPOLLA นำเสนอ THE BASIC LAWS OF HUMAN STUPIDITY  เป็นข้อๆ 5 ข้อ ดังนี้

1.คนส่วนใหญ่มักประเมินจำนวนคนโง่ต่ำกว่าความจริง

2.ความโง่เขลาไม่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลิกของบุคคล

3.คนโง่มักสร้างความเสียหายให้คนอื่นโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ หรืออาจทำให้ตนเองเดือดร้อน

4.คนไม่โง่มักจะประเมินความสามารถในการสร้างความเสียหายของคนโง่ต่ำเกินไป

5.คนโง่เป็นอันตรายต่อสังคมยิ่งกว่าโจรหรือคนร้ายอื่นๆ

Manfred F. R. Kets de Vries แนะนำวิธีรับมือคนโง่ ไว้ดังนี้

-ส่งเสริมให้มีการคิดและตรวจสอบข้อมูล ความรู้ แบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้จากประสบการณ์ 

-การเรียนรู้และตระหนักในการกระทำของตนเองอยู่เสมอช่วยลดความรู้สึกต่อต้านการกระทำตามตรรกะที่มีเหตุผล และช่วยทำให้ตระหนักในการกระทำของตนเองตลอดเวลา

-ความเชื่อมั่นในตัวเองที่มากเกินพอดีทำให้หลงตัวเองและไม่สนใจต่อความคิดเห็นของคนอื่น จึงอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้คนเหล่านี้มีบทบาทในสังคม

-การกระตุ้นให้เกิด Reflective thinking ด้วยการเปรียบเทียบ ช่วยให้คนหลงตัวเองลดความเชื่อมั่นในตนเองลงได้บ้าง และยอมรับฟังความเห็นอื่นๆ

-เรียนรู้ด้วยการทดลองทำจริง เพื่อให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้น เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

-อีกวิธืหนึ่งที่อาจช่วยให้เกิดการเรียนรู้ คือการทำให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่าง วิธีนี้ช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการลองผิดลองถูก

เกี่ยวกับ R3A Center

R3A Center is where the beauty of living matters.
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *