Posted on

Pfizer ประกาศความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนต้าน COVID-19 ด้วยอัตราสมรรถภาพ 90%

ข่าวจาก VOA Thai รายงานว่า Pfizer ร่วมกับ BioNTech ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศเยอรมนี ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ความสำเร็จของการทดลองวัคซีนชนิดหนึ่งสำหรับต้านไวรัส COVID-19 ซึ่งได้มีการค้นคว้ากันทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2563 บริษัททั้งสองเปิดเผยว่า ได้ประสบความสำเร็จในการวิเคราะห์เบื้องต้นของการทดสอบวัคซีน BNT162b2 Pfizer ได้เริ่มการทดสอบแบบปฏิบัติการคลีนิคระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2563 กับผู้ร่วมการทดลองจำนวน 43,538 คน ด้วยการให้วัคซีนกับผู้ร่วมการทดลองจำนวนหนึ่ง และให้น้ำเกลือกับผู้ร่วมการทดลองที่เหลือ โดยไม่ให้รู้ว่าคนไหนได้รับวัคซีนคนไหนได้รับน้ำเกลือ มีเพียงคณะกรรมการอิสระที่ควบคุมการทดสอบเท่านั้นที่มีข้อมูล

จากผู้ร่วมการทดลองจำนวน 43,538 คน มีเพียง 94 คนที่มีอาการของผลของไวรัส ซึ่งเท่ากับอัตราสมรรถภาพ 90 % ของผู้ร่วมการทดลองที่ไม่มีอาการของผลของไวรัส จะมีการทดสอบต่อเนี่องไปอีกในลัษณะเดียวกัน จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการให้วัคซีนครั้งที่ 2 กับผู้ร่วมการทดลองไปแล้วจำนวน 38,955 คน

สมรรถภาพ และ ประสิทธิภาพ

Pfizer รายงานว่า “อัตราสมรรถภาพ (efficacy rate) ราว 90%” ซึ่งทำให้เป็นที่เข้าใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 90%  ในความเป็นจริง สมรรถภาพ (efficacy) และ ประสิทธิภาพ (efficiency) มีความแตกต่างกัน นักภูมิคุ้มกันไวรัสวิทยา Zania Stamataki ของ University of Birmingham ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า “สมรรถภาพ (efficacy) คือความสามรถภายใต้สถานะการณ์ที่ควบคุม ส่วน ประสิทธิภาพ (efficiency) คือความสามารถในสภาวะที่เป็นจริง ไม่มีการควบคุม”

วัคซีนปลอดภัยหรือไม่

คณะกรรมการติดตามผลการทดลองรายงานว่า ยังไม่พบผลกระทบต่อความปลอดภัยอย่างร้ายแรงในการทดลองระยะ 3 Pfizer และ BioNTech จะยังคงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่อไป Stamataki คาดว่าจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ในเร็วๆนี้ FDA จะทำการวิเคราะห์และเปิดเผยผลการวิเคราะห์ในราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะยังคงมีการติดตามผลกระทบระยะยาวในผู้ร่วมการทดลองต่อไปอีก 2 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 แม้ว่าจะมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม

ผลกระทบต่อสาธารณะชน

นิวยอร์คไทม์รายงานว่า “ผุ้บริหารระดับสูงของ Pfizer กล่าวว่าบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีนได้ราว 30-40 ล้านชุดภายในปี2563 ซึ่งจะใช้ฉีดให้คนได้ 15-20 ล้านคน คนละ 2 ชุด เป็นการให้ภูมิคุ้มกันครั้งแรก และครั้งที่สองเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยที่จะฉีดให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและช่วยเหลือก่อน ซึ่งจะครอบคลุม 42% ของกลุ่มคนดังกล่าวทั่วโลก และ 30% ของกลุ่มคนดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา Pfizer และ BioNTech คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 1,300 ล้านชุดในปี 2564 ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของทั้งโลก แต่ถ้าบริษัทอื่นสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันได้ ก็จะเพียงพอกับความต้องการของทั้งโลก ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานกว่า 10 แห่งทั่วโลกที่กำลังทำการทดลองอยู่

อย่างไรก็ตามผู้ทรงคุณวุฒิยังคงสนับสนุนให้มีการรักษาระยะห่างในกลุ่มคน (social distancing) และสวมหน้ากากอนามัย (mask) ต่อไปจนกว่าจะสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสืทธิภาพอย่างเพียงพอ

[ที่มา: https://www.msn.com/en-us/health/medical/pfizer-s-covid-19-vaccine-has-a-90-percent-efficacy-rate-what-does-that-mean/ar-BB1aSXXE?ocid=msedgntp]

Posted on

ระบบ CPF ของ ประเทศสิงคโปร์

จาก website www.cpf.gov.sg ซึ่งเป็น website ของรัฐบาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน Central Provident Fund (CPF) ซึ่งเป็นรากฐานของระบบประกันสังคม (Social security system) ไว้อย่างน่าสนใจ และอาจจะเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับกองทุนที่เรามีอยู่เพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในอนาคต

สำหรับพนักงานที่มีเงินเดือน จะมีการหักเงินเก็บส่วนหนึ่งจากเงินเดือน และนายจ้างต้องจ่ายสมทบส่วนหนึ่ง อัตราการหักจากเงินเดือนและเงินสมทบแตกต่างกันขึ้นกับอายุของพนักงานตามตารางข้างลางนี้

เงินที่หักจากรายได้ของพนักงานและเงินสมทบจากนายจ้างจะถูกแบ่งไปเก็บไว้เป็น 4 ส่วนในบัญชีของพนักงาน ได้แก่

  1. Ordinary account (OA)
  2. Special account (SA)
  3. Medisave account (MA)
  4. Retirement account (RA)

ภาพจาก : Central Provident Fund Board (www.cpf.gov.sg)

สัดส่วนการแบ่งไปยังบัญชีต่างๆจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ จากประกาศล่าสุดของรัฐบาลซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 ตามตารางข้างล่าง

                การสะสมเงินใน CPF แต่ละเดือนมีกำหนดจำนวนสูงสุดด้วยอัตราเงินเดือน (Wage ceiling) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Ordinary wage ceiling และ Additional wage ceiling ในปี ค.ศ. 2024 เงินเดือนสูงสุดที่ใช้คำนวณเงินหักเก็บใน Ordinary account หรือ Ordinary wage ceiling เป็น S$6,800 และเมื่อรวมรายได้ที่ใช้คำนวน Additional wage ceiling ต้องไม่เกิน S$102,000 ต่อปี

เมื่อมีความต้องการจะเบิกเงินออมในบัญชี CPF ก็สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

  1. เบิกจากบัญชี Ordinary account สามารถนำไปใช้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์
  2. เบิกจากบัญชี Medisave account เพื่อนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ทั้งของตัวเองและคนในครอบครัว นอกจากนี้ยังสามารถนำไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับโปรแกรมที่ได้รับความห็นชอบจากรัฐบาล
  3. เบิกจากบัญชี Retirement account เพื่อใช้ในการดำรงชีพเมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งสามารถเบิกเป็นรายเดือนหรือเป็นงวดเดียวก็ได้

ในกรณีที่ยังมีเงินสะสมในบัญชี CPF หลังจากเสียชีวิต เงินสะสมที่เหลืออยู่จะถูกโอนให้กับทายาทหรือผู้ที่ถูกระบุไว้ ถ้าไม่มีทายาทหรือระบุผู้รับผลประโยชน์ เงินสะสมที่เหลืออยู่จะถูกโอนไปยังกองทุนเพื่อสาธารณะต่อไป

Posted on

ผู้ดำเนินการบ้านพักผู้สูงอายุ

ผู้ดำเนินการ เป็นผู้จัดการหรือเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงาน ให้บริการชองพนักงานในบ้านพักผู้สูงอายุ โดยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในบ้านพักผู้สูงอายุ ควรสำเร็จการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 420 ชั่วโมง ที่จัดโดยกระทรางศึกษาธิการ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือโรงเรียนเอกชนที่ได้รับอนุญาต

พนักงาน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเป็น ผู้ประสานงาน รับการติดต่อ การแจ้งเหตุ หรือการเตือนภัย ฯลฯ ควรสำเร็จการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 420 ชั่วโมง ที่จัดโดยกระทรางศึกษาธิการ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือโรงเรียนเอกชนที่ได้รับอนุญาต

ที่มา: ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้จากเวปไซท์ชองกรมกิจการผู้สูงอายุ: https://www.dop.go.th/th/know/12/10

Posted on

เงินบำนาญของรัฐ

เงินบำนาญเป็นผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับหลังจากเกษียณอายุการทำงาน บริษัทเอกชนก็จะกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้าง หรืออาจจะเสนอเป็นเงินก้อนเดียวเมื่อเกษียณอายุการทำงานก็ได้ รัฐก็มีการกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้างของของรัฐ เงินบำนาญมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเป็นอย่างมากในการดำรงชีพหลังเกษียณอายุการทำงาน ในปัจจุบันประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น และขนาดของครอบครัวเล็กลงอย่างมาก ผู้สูงอายุจึงต้องพี่งพาตนเองมากขึ้น เงินบำนาญจึงเป็นที่พึ่งหลักของผู้สูงอายุหลังวัยทำงาน รัฐบาลของแต่ละประเทศมีระบบเงินบำนาญให้พนักงานหลังเกษียณอายุการทำงานแตกต่างกันไป

มีการลำดับระบบเงินบำนาญของรัฐใน 43 ประเทศด้วยข้อมูลล่าสุดในปี 2521 (พ.ศ. 2564) โดย Visual Capitalist พิจารณาจาก 3 มิติ ได้แก่

  • Adequacy (ความเพียงพอ) รายได้พื้นฐานจากระบบเงินบำนาญ
  • Sustainability (ความยั่งยืน) ระยะเวลาที่ดำเนินการของระบบเงินบำนาญ เงินอุดหนุนจากรัฐ และหนี้สาธารณะ
  • Integrity (ความสมบูรณ์) ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องระบบเงินเกษียณ

ที่มา: Visual Capitalist

ประเทศที่มีคะแนนสูง 3 ลำดับแรก คือ Iceland Netherlands และ Denmark ส่วน 3 ลำดับที่มีคะแนนต่ำ คือ Philippines Argentina และ Thailand ประเทศไทยได้คะแนนรวม (Over all) 40.6 และได้คะแนนในหมวด Adequacy เท่ากับ 35.2 ซึ่งต่ำสุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับการพิจารณา ดังที่แสดงในรูป

Posted on

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา จากกราฟข้างล่าง ราวปี ค.ศ.1800 ประชากรโลกมีประมาณ 1,000 ล้านคน เพิ่มเป็น 2,000 ล้านคนในปี ค.ศ.1930 (อีก 130 ปีต่อมา) เป็น 3,000 ล้านคนในปี ค.ศ.1960 (แค่เพียง 30 ปีต่อมา) และเพิ่มอย่างรวดเร็วต่อจากนั้น ปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2565 จำนวนประชากรทั้งโลกมีราว 7,900 ล้านคน

แม้ว่าอัตราการเพิ่มประชากรโลกกำลังลดลงอย่างมาก จาก 2.1% ในราวปี ค.ศ. 1968 มาจนเหลือ 1.10-1.05% ในปี ค.ศ. 2020 จำนวนประชากรของโลกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คาดว่าอัตราการเพิ่มของประชากรโลกจะค่อยๆลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 1.10% ในปี ค.ศ. 2020 จนเหลือ 0.53% ในปี ค.ศ. 2050 และจำนวนประชากรจะเพิ่มเป็น 9,735 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2050

                จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความต้องการทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันความสามารถในการไขว่คว้าทรัพยากรดังกล่าวก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน

Posted on

วิธีทดสอบผ้าอ้อมผู้ใหญ่

การเลือกซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเลือกผิด จะเป็นการสิ้นแปลืองและอาจทำให้เกิดเหตุการณ์น่าขายหน้ากัยผู้ใช้ การเลือกซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่จากรูปลักษณ์ของหีบห่อหรือแผ่นพับโฆษณาอาจจะไม่เพียงพอ ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะสำคัญของผ้าอ้อมเป็นสำคัญ วิธีตรวจสอบคุณลักษณะสำคัญของผ้าอ้อมซึ่ง XP Medical แนะนำบนหน้าเว็บไซท์ ดังนี้

การวัดขนาดของผ้าอ้อมแห้ง (ก่อนใช้งาน)

1.กางผ้าอ้อมแห้งออกบนพื้นราบ

2.วัดขนาดทั้งส่วนกว้าง ส่วนยาว

               ก.ความกว้างด้านหน้า

               ข.ความกว้างด้านหลัง

               ค.ความกว้างส่วนเว้า

               ง.ความยาวจากขอบหน้าถึงขอบหลัง

การวัดความสามารถในการดูดซับ

1.วางผ้าอ้อมในลักษณะเหมือนใส่บนตัวคน คล้ายรูปตัวยู

2.เทน้ำ 450 cc (16 ออนซ์ น้ำหนัก) ที่อุณหภูมิห้อง ลงตรงกลางผ้าอ้อมอย่างช้าๆ แล้วตรวจดูว่ามีน้ำไหลออกทางด้านข้างหรือไม่

3.ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วเทน้ำ 450 cc (16 ออนซ์ น้ำหนัก) ที่อุณหภูมิห้อง ลงไปอีก และตรวจตรวจดูว่ามีน้ำไหลออกทางด้านข้างหรือไม่ เช่นเดียวกับครั้งแรก

4.ทำอย่างเดียวกับข้างต้นอีก 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง หรือ 1,800 cc (64 ออนซ์ น้ำหนัก)

5.กดทับผ้าอ้อมด้วยวัสดุแผ่นขนาด 8นิ้ว x 12นิ้ว น้ำหนัก 22.7 กิโลกรัม (50 ปอนด์) แล้วตรวจตรวจดูว่ามีน้ำไหลออกทางด้านข้างหรือไม่

6.หลังจากผ่านการทดสอบด้วยการกดทับ เทน้ำอีก 450 cc เป็นครั้งที่ 5 7.วัด “Wicking Distance” (ระยะการซึมของน้ำ)  และ “Thickness at Capacity” (ความหนาจากการดูดน้ำ)