Posted on

เงินบำนาญของรัฐ

เงินบำนาญเป็นผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับหลังจากเกษียณอายุการทำงาน บริษัทเอกชนก็จะกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้าง หรืออาจจะเสนอเป็นเงินก้อนเดียวเมื่อเกษียณอายุการทำงานก็ได้ รัฐก็มีการกำหนดเงินบำนาญให้กับลูกจ้างของของรัฐ เงินบำนาญมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเป็นอย่างมากในการดำรงชีพหลังเกษียณอายุการทำงาน ในปัจจุบันประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น และขนาดของครอบครัวเล็กลงอย่างมาก ผู้สูงอายุจึงต้องพี่งพาตนเองมากขึ้น เงินบำนาญจึงเป็นที่พึ่งหลักของผู้สูงอายุหลังวัยทำงาน รัฐบาลของแต่ละประเทศมีระบบเงินบำนาญให้พนักงานหลังเกษียณอายุการทำงานแตกต่างกันไป

มีการลำดับระบบเงินบำนาญของรัฐใน 43 ประเทศด้วยข้อมูลล่าสุดในปี 2521 (พ.ศ. 2564) โดย Visual Capitalist พิจารณาจาก 3 มิติ ได้แก่

  • Adequacy (ความเพียงพอ) รายได้พื้นฐานจากระบบเงินบำนาญ
  • Sustainability (ความยั่งยืน) ระยะเวลาที่ดำเนินการของระบบเงินบำนาญ เงินอุดหนุนจากรัฐ และหนี้สาธารณะ
  • Integrity (ความสมบูรณ์) ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องระบบเงินเกษียณ

ที่มา: Visual Capitalist

ประเทศที่มีคะแนนสูง 3 ลำดับแรก คือ Iceland Netherlands และ Denmark ส่วน 3 ลำดับที่มีคะแนนต่ำ คือ Philippines Argentina และ Thailand ประเทศไทยได้คะแนนรวม (Over all) 40.6 และได้คะแนนในหมวด Adequacy เท่ากับ 35.2 ซึ่งต่ำสุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับการพิจารณา ดังที่แสดงในรูป

Posted on

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา จากกราฟข้างล่าง ราวปี ค.ศ.1800 ประชากรโลกมีประมาณ 1,000 ล้านคน เพิ่มเป็น 2,000 ล้านคนในปี ค.ศ.1930 (อีก 130 ปีต่อมา) เป็น 3,000 ล้านคนในปี ค.ศ.1960 (แค่เพียง 30 ปีต่อมา) และเพิ่มอย่างรวดเร็วต่อจากนั้น ปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2565 จำนวนประชากรทั้งโลกมีราว 7,900 ล้านคน

แม้ว่าอัตราการเพิ่มประชากรโลกกำลังลดลงอย่างมาก จาก 2.1% ในราวปี ค.ศ. 1968 มาจนเหลือ 1.10-1.05% ในปี ค.ศ. 2020 จำนวนประชากรของโลกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คาดว่าอัตราการเพิ่มของประชากรโลกจะค่อยๆลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 1.10% ในปี ค.ศ. 2020 จนเหลือ 0.53% ในปี ค.ศ. 2050 และจำนวนประชากรจะเพิ่มเป็น 9,735 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2050

                จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงความต้องการทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันความสามารถในการไขว่คว้าทรัพยากรดังกล่าวก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน