ข่าวจาก VOA Thai รายงานว่า Pfizer ร่วมกับ BioNTech ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศเยอรมนี ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ความสำเร็จของการทดลองวัคซีนชนิดหนึ่งสำหรับต้านไวรัส COVID-19 ซึ่งได้มีการค้นคว้ากันทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2563 บริษัททั้งสองเปิดเผยว่า ได้ประสบความสำเร็จในการวิเคราะห์เบื้องต้นของการทดสอบวัคซีน BNT162b2 Pfizer ได้เริ่มการทดสอบแบบปฏิบัติการคลีนิคระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2563 กับผู้ร่วมการทดลองจำนวน 43,538 คน ด้วยการให้วัคซีนกับผู้ร่วมการทดลองจำนวนหนึ่ง และให้น้ำเกลือกับผู้ร่วมการทดลองที่เหลือ โดยไม่ให้รู้ว่าคนไหนได้รับวัคซีนคนไหนได้รับน้ำเกลือ มีเพียงคณะกรรมการอิสระที่ควบคุมการทดสอบเท่านั้นที่มีข้อมูล
จากผู้ร่วมการทดลองจำนวน 43,538 คน มีเพียง 94 คนที่มีอาการของผลของไวรัส ซึ่งเท่ากับอัตราสมรรถภาพ 90 % ของผู้ร่วมการทดลองที่ไม่มีอาการของผลของไวรัส จะมีการทดสอบต่อเนี่องไปอีกในลัษณะเดียวกัน จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการให้วัคซีนครั้งที่ 2 กับผู้ร่วมการทดลองไปแล้วจำนวน 38,955 คน
สมรรถภาพ และ ประสิทธิภาพ
Pfizer รายงานว่า “อัตราสมรรถภาพ (efficacy rate) ราว 90%” ซึ่งทำให้เป็นที่เข้าใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 90% ในความเป็นจริง สมรรถภาพ (efficacy) และ ประสิทธิภาพ (efficiency) มีความแตกต่างกัน นักภูมิคุ้มกันไวรัสวิทยา Zania Stamataki ของ University of Birmingham ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า “สมรรถภาพ (efficacy) คือความสามรถภายใต้สถานะการณ์ที่ควบคุม ส่วน ประสิทธิภาพ (efficiency) คือความสามารถในสภาวะที่เป็นจริง ไม่มีการควบคุม”
วัคซีนปลอดภัยหรือไม่
คณะกรรมการติดตามผลการทดลองรายงานว่า ยังไม่พบผลกระทบต่อความปลอดภัยอย่างร้ายแรงในการทดลองระยะ 3 Pfizer และ BioNTech จะยังคงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่อไป Stamataki คาดว่าจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ในเร็วๆนี้ FDA จะทำการวิเคราะห์และเปิดเผยผลการวิเคราะห์ในราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะยังคงมีการติดตามผลกระทบระยะยาวในผู้ร่วมการทดลองต่อไปอีก 2 ปีหลังจากฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 แม้ว่าจะมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม
ผลกระทบต่อสาธารณะชน
นิวยอร์คไทม์รายงานว่า “ผุ้บริหารระดับสูงของ Pfizer กล่าวว่าบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีนได้ราว 30-40 ล้านชุดภายในปี2563 ซึ่งจะใช้ฉีดให้คนได้ 15-20 ล้านคน คนละ 2 ชุด เป็นการให้ภูมิคุ้มกันครั้งแรก และครั้งที่สองเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยที่จะฉีดให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและช่วยเหลือก่อน ซึ่งจะครอบคลุม 42% ของกลุ่มคนดังกล่าวทั่วโลก และ 30% ของกลุ่มคนดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา Pfizer และ BioNTech คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 1,300 ล้านชุดในปี 2564 ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของทั้งโลก แต่ถ้าบริษัทอื่นสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันได้ ก็จะเพียงพอกับความต้องการของทั้งโลก ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานกว่า 10 แห่งทั่วโลกที่กำลังทำการทดลองอยู่
อย่างไรก็ตามผู้ทรงคุณวุฒิยังคงสนับสนุนให้มีการรักษาระยะห่างในกลุ่มคน (social distancing) และสวมหน้ากากอนามัย (mask) ต่อไปจนกว่าจะสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสืทธิภาพอย่างเพียงพอ
[ที่มา: https://www.msn.com/en-us/health/medical/pfizer-s-covid-19-vaccine-has-a-90-percent-efficacy-rate-what-does-that-mean/ar-BB1aSXXE?ocid=msedgntp]